บทความด้านการทดสอบซอฟต์แวร์

เทคนิคการทดสอบอัตโนมัติแบบ Record / Playback

วิธีการแรกที่ถูกนำมาใช้ในการทดสอบแบบอัตโนมัติได้แก่ เทคนิคที่เรียกว่า Record / Playback ซึ่งได้มาจากการสังเกตการใช้งานจากการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้และระบบ โดยการตรวจสอบและติดตามการทำงานของสองกลไกหลักที่ใช้ในการนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ ได้แก่ คีย์บอร์ดและเมาส์นั่นเอง การกระทำที่เกิดขึ้นกับกลไกดังกล่าวจะถูกบันทึกไว้ในรูปของสคริปต์สำหรับทดสอบ เครื่องมือทดสอบอัตโนมัติรุ่นแรก ๆ ใช้คุณสมบัติดังกล่าวนี้เพื่อบันทึกการกระทำของผู้ใช้และนำมาเล่นย้อนกลับได้ในภายหลัง โดยมีขั้นตอนการทำงานดังต่อไปนี้

  1. การออกแบบกรณีทดสอบสามารถทำได้โดยตรงภายในเครื่องมือทดสอบ
  2. ใช้คุณสมบัติในการบันทึกการกระทำของผู้ใช้ ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้มีลักษณะคล้ายกับสคริปต์แมคโครขณะที่มีการนำเสนอการกระทำของผู้ใช้
  3. เพิ่มความสามารถในการบันทึกสคริปต์พร้อมจุดที่ใช้ในการตรวจสอบ ขณะที่บางคุณสมบัติหรือข้อมูลจะถูกตรวจสอบร่วมกับขอบเขตที่กำหนดไว้ได้โดยตรง
  4. การเล่นย้อนกลับสคริปต์ที่ถูกบันทึกไว้และแสดงผลลัพธ์ได้ภายในเครื่องมือทดสอบ

เทคนิคแบบ Record / Playback ถูกนำมาใช้สำหรับการทดสอบอัตโนมัติ โดยมีการทดสอบด้วยมือในขั้นตอนแรก จากนั้นจึงมีการเขียนหรือแก้ไขสคริปต์เพื่อให้สามารถรันได้โดยใช้เครื่องมือทดสอบแบบอัตโนมัติ แม้ว่าเครื่องมือทดสอบแบบอัตโนมัติเพียงแต่ช่วยในการประมวลผลสคริปต์ที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อการทดสอบฟังก์ชันการทำงานหนึ่ง ๆ โดยเฉพาะ แต่เครื่องมือทดสอบแบบอัตโนมัติจะขาดความสามารถในการตัดสินใจและสิ่งที่แตกต่างไปจากการบันทึกไว้ระหว่างการประมวลผลโปรแกรม ดังนั้นในทางปฏิบัติแล้วจำเป็นต้องทดสอบด้วยมือในทุก ๆ ขั้นตอนของการทดสอบฟังก์ชันการทำงานของระบบ ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นการทดสอบแบบอัตโนมัติในภายหลัง

ดังที่กล่าวมาแล้วว่าการทดสอบแบบอัตโนมัติมีข้อดีเหนือกว่าการทดสอบด้วยมือตรงที่การทำงานสามารถนำมาใช้ทดสอบซ้ำได้ตามจำนวนครั้งที่ต้องการ และเพื่อให้สามารถทำงานได้ตามคุณลักษณะดังกล่าว การทำงานที่เกิดขึ้นจะต้องอยู่ในรูปของคำสั่งที่ใช้ในการประมวลผลตามลำดับ และคำสั่งเหล่านี้จะถูกเรียกว่าสคริปต์สำหรับทดสอบ ผลพลอยได้ประการหนึ่งที่มาพร้อมกับการพัฒนาเทคนิคแบบ Record / Playback คือพัฒนาการของสคริปต์สำหรับทดสอบ

เทคนิคแบบ Record/Playback เป็นการบันทึกลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจากคีย์บอร์ดและเมาส์และถูกแปลงให้อยู่ในรูปของภาษาสคริปต์ที่สามารถนำมารันซ้ำ ๆ ได้ในภายหลัง อย่างไรก็ตามการทำงานในลักษณะนี้ยังมีข้อจำกัดประการหนึ่งคือในช่วงระหว่างการ Record หากมีข้อผิดพลาดใด ๆ เกิดขึ้นจำเป็นต้องบันทึกการทำงานใหม่เสมอจนกว่าการทำงานจะถูกต้องสมบูรณ์ นอกจากนั้นแล้วปัญหาเรื่องปริมาณของสคริปต์ที่เพิ่มขึ้น ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่ต้องการทดสอบแบบอัตโนมัติเพิ่ม จำเป็นต้องบันทึกการทำงานในรูปของสคริปต์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นยิ่งจำนวนการทดสอบแบบอัตโนมัติเพิ่มขึ้นจำนวนของสคริปต์จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

Insert title here